ถึงเวลาที่ผู้ประกอบการไทยสามารถสร้าง IT Solution เป็นของตัวเองได้!

2013-01-04

ทุกวันนี้ ผู้ประกอบการอย่าง “System Integrator” หรือที่เรามักเรียกกันว่า SI โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะใช้วิธีการ นำผลิตภัณฑ์ หรือ เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันมาประกอบขึ้นเป็นโซลูชั่น ภายใต้แบรนด์ของตน แท้จริงแล้วผู้ประกอบการเหล่านี้ยังคงมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนอง ความต้องการ ที่หลากหลาย และลดข้อจำกัดในเรื่องกระบวนการพัฒนา และต้นทุนที่สูง เพื่อที่นำไปสู่การพัฒนา IT Solution ของตัวเองอยู่อย่างต่อเนื่อง

ซึ่งการสร้าง Solution ทางด้านไอทีประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ ปัญหาที่พบโดยส่วนใหญ่แล้วคือ การสร้างหรือพัฒนา ฮาร์ดแวร์ ใหม่ซึ่งต้องลงทุนสูง มีความเสี่ยงสูง และใช้เวลามาก ซึ่งในทางปฏิบัติ Solution ต้องออกสู่ตลาดในช่วงที่ความต้องการ ของตลาดยังสูงอยู่ และต้องเร็วกว่าคู่แข่ง ในปัญหาที่พบโดยส่วนใหญ่แล้วคือ การสร้างหรือพัฒนา ฮาร์ดแวร์ ใหม่ซึ่งต้องลงทุนสูง มีความเสี่ยงสูง และใช้เวลามากขณะที่การพัฒนา ซอฟต์แวร์ ในปัจจุบันเป็นไปได้ ง่ายและเร็วกว่า เนื่องจาก ซอฟต์แวร์ ที่ถูกพัฒนานั้นจะต้องนำมาใช้กับ ฮาร์ดแวร์ ที่มีอยู่แล้วในตลาด (เช่น PC, Android/iOS Smart Phone) อีกทั้ง ฮาร์ดแวร์ เหล่านั้นได้อำนวยความสะดวกในการพัฒนา ซอฟต์แวร์ ที่นำมาใช้ผ่านทาง Application Framework

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ธุรกิจ Digital Signage ที่มักจะใช้คอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์เฉพาะทางที่มีราคาแพง มาใช้นำเสนอสื่อประชาสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว ซึ่งดูเกินความจำเป็น เมื่อเทียบราคาของอุปกรณ์ที่ต้องใช้งานกับความต้องการทางธุรกิจไปมากเลยทีเดียว

และเนื่องมาจากผู้ประกอบการธุรกิจประเภทนี้ไม่สามารถที่จะพัฒนาอุปกรณ์เฉพาะทางด้วยตนเองได้ จึงยังคงต้องพึ่งพาอุปกรณ์ทั่วไปทางท้องตลาดที่มีราคาสูงอยู่อย่างนั้น และเราก็มักจะพบรูปแบบของปัญหาประเภทนี้ในธุรกิจอื่นๆเช่นกัน อาทิเช่น การทำ Virtual Desktop, การนำเสนอพรีเซนเทชั่นในที่ประชุม, การติดตั้งระบบควบคุมไฟฟ้าภายในโรงงาน, ฯลฯ

ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาผลิตภัณฑ์ PentaTM ซึ่งเป็นอุปกรณ์นวัตกรรมใหม่ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของ “Cloud Client Platform” ที่ทางทีมนักพัฒนาบริษัท Power-All Venture บริษัทร่วมทุนของ The VC group, Power-All Networks และ Foxconn (ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเลคทรอนิคชั้นนำของโลก) ได้ร่วมกันทำการออกแบบ และพัฒนาเทคโนโลยีของ PentaTM ขึ้นมาใหม่เองทั้งหมด ทั้งในส่วนของ ฮาร์ดแวร์, ระบบปฏิบัติการ (OS), และ แอพพลิเคชั่นแพลตฟอร์ม ผู้ประกอบการสามารถใช้ “PentaTM” เป็นส่วนของ ฮาร์ดแวร์ และพัฒนาซอฟท์บนเฟรมเวอร์คและแพลทฟอร์ม ที่เกิดจากการรวมจุดเด่นของระบบปฎิบัติการยอดนิยมอย่าง Android และ Linux เข้าด้วยกัน(Application Framework) ขึ้นมาพร้อมกัน จึงทำให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ “PentaTM” เป็นส่วนของ ฮาร์ดแวร์ และพัฒนาซอฟท์บนเฟรมเวอร์คและแพลทฟอร์ม ที่เกิดจากการรวมจุดเด่นของระบบปฎิบัติการยอดนิยมอย่าง Android และ Linux เข้าด้วยกันเพื่อมาสร้าง Solution ของตน ทดแทนอุปกรณ์เดิมที่มีราคาสูงในท้องตลาด พร้อมทั้งสามารถพัฒนาซอร์ฟแวร์ของตนเองเพื่อตอบสนองโซลูชั่น ทางธุรกิจของตน

ออกมาเองได้หลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น Digital Signage, Thin Client, Internet TV, Video On Demand, Video Conference เหล่านี้เป็นต้น

จุดเด่นของอุปกรณ์ Penta ที่มีความโดดเด่นเหนือกว่าอุปกรณ์ในท้องตลาดโดยทั่วไปนั้นก็คือ

  1. ต้นทุนอุปกรณ์ที่ดีกว่า PentaTM นั้นได้รับการสนับสนุนโดย Foxconn ผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีชั้นนำของโลก ทำให้ได้เปรียบทั้งทางด้านราคาต้นทุนที่ดีขึ้น และคุณภาพในระดับแบรนด์ชั้นนำต่างๆ ประกอบกับการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับการใช้งาน โดยไม่บันทอนประสิทธิภาพการทำงานลง

  2. ประหยัดพลังงานได้ดีกว่า ด้วยการเลือกใช้ซีพียูในตระกูล ARM เช่นเดียวกับอุปกรณ์มือถือ และแท็บเล็ตทั่วไป จึงทำให้ PentaTM ใช้พลังงานที่น้อยลง แต่ทำงานได้ประสิทธิภาพที่มากเช่นเดิม

  3. ขนาดอุปกรณ์ที่ดีกว่า PentaTM ได้รับการออกแบบให้มีขนาดที่เล็ก น้ำหนักเบา สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก ง่ายต่อการติดตั้ง ไม่กีดขวาง สามารถจัดวางในพื้นที่การทำงานที่จำกัดได้ และอุปกรณ์มีความทนทานสามารถใช้งานต่อเนื่องในระยะเวลาได้นานยิ่งขึ้น

  4. เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลากหลาย PentaTM สามารถเทียบเท่า PC ที่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่านทาง USB, WiFi, และ Ethernet และมีความสามารถที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการต่อพ่วงอุปกรณ์ในอนาคตได้ ผ่านทาง Over-The-Air Upgrade Service

  5. รองรับการเชื่อมต่อกับ Cloud Computing PentaTM นั้นถูกออกแบบมาเพื่อการใช้รวมกับสถาปัตยกรรม Cloud Computing ซึ่งเน้นการเชื่อมต่อกับ Software as a Service (SaaS) ซึ่งใช้การประมวลผลบน Cloud เป็นหลัก

  6. พัฒนาเพื่อรองรับการทำงานได้หลากหลายรูปแบบ PentaTM ไม่ใช่มีเพียงแค่อุปกรณ์ แต่ยังมี Application Framework ที่พัฒนาจากการรวมจุดเด่นของ Android และ Linux เข้าด้วยกันเพื่อ อำนวยความสะดวกแก่ผู้พัฒนาในการริเริ่มพัฒนา Application ของตนไปใช้งานบนอุปกรณ์ได้ จึงช่วยให้หน่วยงานธุรกิจสามารถนำ PentaTM ไปใช้รองรับการใช้งานในรูปแบบที่เฉพาะทาง หรือการทดแทนใช้งาน PC แบบทั่วไปได้ทั้งหมด

PentaTM จึงนับเป็นนวัตกรรมใหม่ของโลกอนาคต ที่จะเข้ามาทดแทนการใช้งาน PC ในปัจจุบัน และยังคงตอบสนองความต้องการในเชิงธุรกิจที่หลายหลาย อีกทั้งสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้ตามกระแสโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วได้ดีเลยทีเดียว

ในบทความถัดไปเราจะนำเสนอรูปแบบทางด้าน Application Framework ของ PentaTM ที่ยังมีจุดเด่นอีกมากมายให้คุณผู้อ่านได้ติดตามกันต่อไป

สำหรับใครที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมขณะนี้มีคอมมูนิตี้สำหรับนักพัฒนา Cloud Client โดยเฉพาะ เข้าไปร่วมแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น พูดคุยถึงกรณีศึกษาต่างๆ ได้ที่ Penta Cloud Client Group บน Facebook