เกี่ยวกับบริษัท

กลุ่มบริษัท มอร์ คอร์ปอเรชั่น เป็นผู้พัฒนาซอฟท์แวร์สำหรับ โรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาลรัฐบาล, โรงพยาบาลเอกชน และคลีนิคเฉพาะทาง เช่น สถาบันการแพทย์รามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ (CNMI), เครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS), คณะทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ;

บริษัทผู้ผลิตยาและเวชภัณฑ์ เช่น สหแพทย์เภสัช, เอ.เอ็น.บี. ลาบอราตอรี่ (อำนวยเภสัช);

รวมไปถึง มูลนิธิเพื่อสุขภาพ ที่ได้รับการสนับสนุนจากองทุนเพื่อสุขภาพระดับโลกในการป้องกันโรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบซี และโรคติดต่ออื่นๆ

บริษัทมี หลักการสำคัญสามข้อ ที่ทำให้เราแตกต่างจากบริษัทอื่นในการพัฒนาซอฟท์แวร์สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมการดูและสุขภาพ

1. ความใส่ใจในกระบวนการทางการแพทย์ (Clinical Process)

ซอฟท์แวร์สำหรับโรงพยาบาลและองค์กรด้านสุขภาพส่วนใหญ่จะออกแบบมาโดยมีกระบวนการการเก็บเงิน (Billing) เป็นศูนย์กลาง

จริงอยู่งานด้านการเงินมีความสำคัญและมีความท้าทาย โดยเฉพาะการเบิกจ่ายภาครัฐของไทยซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากระดับโลก แต่เราเชื่อว่าซอฟท์แวร์สำหรับอุตสาหกรรมนี้ควรจะมี กระบวนการทางการแพทย์เป็นศูนย์กลาง โดยยังตอบโจทย์งานด้านการเงินและด้านอื่นๆ จึงจะเกิดประโยชน์สุงสุด

เราเชื่อว่าความเข้าในรายละเอียดเชิงการแพทย์เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการออกแบบระบบที่ตอบโจทย์ทุกภาคพส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ

ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงให้ความสำคัญกับการเข้าใจรายละเอียดในเชิงการแพทย์ ความเข้าใจในวิธีคิดและการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดในการเก็บความต้องการ (Requirement) การวิเคราะห์ การออกแบบระบบ และขั้นตอนอื่นๆ ตลอดกระบวนการพัฒนาซอฟท์แวร์

2. แพลตฟอร์มดิจิตอลที่ครอบคลุมบริการสุขภาพด้านต่างๆสำหรับผู้ป่วย (Patient Platform)

ซอฟท์แวร์ที่ดีในยุคดิจิตัลต้องสามารถตอบโจทย์ไม่ใช่แค่การใข้งานภายในสถานบริการ แต่ต้องสามารถตอบโจทย์การใช้งานของผู้ป่วยทั้งกรณีที่เข้ามารับบริการ และกรณีที่ไม่ได้เข้ามารับบริการในสถานบริการ เช่นกรณีอยู่ที่บ้านด้วย

ในขณะที่ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลส่วนใหญ่ออกแบบไว้สำหรับการใช้งานของบุคลากรในสถานบริการ ซอฟท์แวร์ของบริษัทออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการใช้งานนอกสถานที่ของบุคลากร และการใช้งานของผู้ป่วยและญาติด้วย โดยการใช้ เทคโนโลยีโมบายแอพพลิเคชั่น และเทคโนโลยีคลาวด์

ระบบที่ครอบคลุมการให้บริการในโลกยุคดิจิตัลนี้จะทำให้ผู้ให้บริการสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) คุณแม่ลูกอ่อน และ ผู้ป่วยอื่นๆที่ต้องมีการติดต่อโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการนำเทคโนโลยีโทรเวชกรรม (Telemedicine) มาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับขั้นตอนการดูแลรักษานั้น

3. ดึงประโยชน์สูงสุดจากข้อมูล (Data Utilization)

การนำข้อมูลในระบบมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการทำ Analytics หรือการใช้เทคโนโลยี Data Science และ Machine Learning เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้การออกแบบหน้าจอให้ผู้ใช้งานที่หน้างาน

แต่เรื่องนี้มักถูกมองข้ามในโครงการการพัฒนาซอฟท์แวร์โดยส่วนใหญ่ และทำให้โครงสร้างการเก็บข้อมูลตอบโจทย์เฉพาะการใช้งานรายวัน (การใช้งานที่หน้างาน) แต่ไม่ตอบโจทย์การนำไปใช้วิเคราะห์ต่อยอด

ด้วยเหตุนี้ทีมงานของบริษัทจึงถูกฝึกอบรมในการเน้นย้ำความสำคัญในเรื่องนี้ และช่วยให้คำปรึกษาในการการนำข้อมูลไปใช้ในด้านการวิเคราะห์ต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ

การคิดถึงการนำข้อมูลไปใช้ตั้งแต่ต้นจะทำให้ระบบที่ออกแบบมาตอบโจทย์ทั้งการใช้งานรายวัน (หน้าจอที่หน้างานใช้) และการนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์ต่อยอด (Dashboard & หน้าวิเคราะห์อื่นๆสำหรับผู้บริหาร)

นอกจากนี้ทีมงานด้านเทคโนโลยีของบริษัทก็มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล โดยเฉพาะเครื่องมือ Data Science และ Machine Learning ที่สามารถนำข้อมูลที่อยู่ในระบบมาสร้างประโยชน์สูงสุดต่อบุคลากรโรงพยาบาลและคนไข้

ติดต่อ:

Facebook Page: Mor Corporation

E-mail: contact@mor.company